วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัด


1.  ข้อความใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง
      ก.   ฐานนิยมของข้อมูลชุดใดๆ อาจมีจำนวนมากกว่าหนึ่งค่าก็ได้                                         
      ข.   พิสัยของข้อมูลชุดใดๆ อาจจะมีค่ามากกว่าค่าที่มากที่สุดของข้อมูลชุดนั้นๆ ก็ได้
      ค.   การหาค่ากลางของข้อมูลโดยใช้ตัวกลางเรขาคณิต สามารถทำได้จากข้อมูลชุดใดๆ ก็ได้  
      ง.   ในการสร้างตารางแจกแจงความถี่ ความถี่ของแต่ละอันตรภาคชั้นไม่จำเป็นต้องมากกว่าศูนย์เสมอไป             
2.  กำหนดข้อมูลแสดงจำนวนนักโทษในเรือนจำแห่งหนึ่ง จำแนกตามระดับการศึกษาดังตาราง
ระดับการศึกษา
จำนวนนักโทษ (คน)
ไม่ได้เรียน
ประถมศึกษา
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
สูงกว่ามัธยมศึกษา
30
250
25
12
10

      การวัดค่ากลางของข้อมูลตามตารางข้างบนที่ถูกต้องควรใช้ค่าใดต่อไปนี้
      ก.   ค่าเฉลี่ยเลขคณิต                                                                      ข.    มัธยฐาน                           
      ค.   ฐานนิยม                                                                                   ง.    ถูกต้องทุกข้อ
ใช้ข้อมูลในตารางตอบคำถามข้อ 3-5
      ตารางที่กำหนดให้ต่อไปนี้แสดงส่วนสูงเป็นเซนติเมตรของเด็กอายุ 10 ขวบ จำนวน 100 คน
ความสูง (เซนติเมตร)
จำนวนความถี่สะสม
110-114
115-119
120-124
125-1259
130-134
135-139
140-144
8
20
35
58
81
93
100

3.  ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของความสูงของเด็กทั้งหมดเท่ากับข้อใดต่อไปนี้
      ก.   126.25 เซนติเมตร                                                                 ข.    127.25 เซนติเมตร         
      ค.   127.75 เซนติเมตร                                                                 ง.    128.75 เซนติเมตร
4.  มัธยฐานของส่วนสูงของเด็กทั้งหมดเท่ากับข้อใดต่อไปนี้
      ก.   127.76 เซนติเมตร                                                                 ข.    128.33 เซนติเมตร         
                ค.            128.82 เซนติเมตร              ง.            129.14 เซนติเมตร

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สถิติและข้อมูล


        1.    ปัจจุบันได้มีการนำความรู้ในวิชาสถิติไปใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านต่างๆ เป็นอันมาก ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาวิชาสถิติให้เข้าใจถ่องแท้และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางต่อไป
                        2.     ความหมายของสถิติแบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ
                                ประการแรก          สถิติหมายถึงตัวเลขที่แทนข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจ
                                ประการที่สอง       สถิติหมายถึงกระบวนการที่ใช้ในการศึกษาข้อมูล ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่ากระบวนการทางสถิติ
                        3.     กระบวนการทางสถิติ ประกอบด้วยขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือ
                                ขั้นที่ 1 ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of data)
                                ขั้นที่ 2 ขั้นการนำเสนอข้อมูล (Presentation of data)
                                ขั้นที่ 3 ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of data)
                                ขั้นที่ 4 ขั้นการแปลความหมายของข้อมูล (Interpretation of data)
                        4.     ประเภทของสถิติ สถิติมี 2 ประเภท คือ
                                ประเภทที่สถิติเชิงพรรณนา คือสถิติที่ใช้ศึกษาคำตอบของสิ่งที่เราสนใจจากข้อมูลทั้งหมดของเรื่องนั้นๆ
                                ประเภทที่ 2   สถิติอ้างอิง คือสถิติที่ใช้ศึกษาหาคำตอบของเรื่องราวที่เราสนใจ โดยการนำข้อมูลบางส่วนหรือสมาชิกบางส่วนของเรื่องนั้นมาหาคำตอบที่ต้องการ
                               
        5.     ประเภทของข้อมูล ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
                                ประเภทที่ 1 ข้อมูลปฐมภูมิ เป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ข้อมูลเก็บจากผู้ให้ข้อมูลโดยตรงด้วยวิธีการต่างๆ
                                ประเภทที่ 2 ข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่ง
                        6.     ลักษณะของข้อมูล ข้อมูลมี 2 ลักษณะ คือ
                                1.ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขโดยตรง แต่อธิบายสมบัติของข้อมูลเหล่านั้นได้ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งชั้นยศของทหาร ข้อมูลเกี่ยวกับวุฒิการศึกษา เป็นต้น
                                2.ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นข้อมูลที่บอกขนาดหรือปริมาณ ซึ่งสามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับความสูง น้ำหนัก คะแนนสอบ เป็นต้น
                        7.     การนำเสนอข้อมูล จุดมุ่งหมายของการนำเสนอข้อมูลก็เพื่อให้ผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลมีความเข้าใจ และสามารถนำไปใช้ได้ โดยวิธีนำเสนอข้อมูลมี 2 วิธี คือ
                                วิธีที่ 1     การนำเสนอข้อมูลอย่างไม่เป็นแบบแผน มีวิธีนำเสนอ 2 แบบ
                                                                แบบที่ 1 การนำเสนอในรูปข้อความ
                                                                แบบที่ 2 การนำเสนอในรูปข้อความกึ่งตาราง
                                วิธีที่ 2     การนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นแบบแผน มีวิธีนำเสนอแบบต่างๆ ดังนี้
                                                                แบบที่การนำเสนอในรูปตารางชนิดต่างๆ ได้แก่
                                                                                • ตารางแสดงความถี่
                                                                                • ตารางทางเดียว
                                                                                • ตารางสองทาง
                                                                                • ตารางหลายทาง
                                                                แบบที่ 2 การนำเสนอในรูปแผนภูมิและแผนภาพต่างๆ ได้แก่
                                                                                • แผนภูมิแท่ง แบ่งเป็น
                                                                                                - แผนภูมิแท่งเชิงเดียว
                                                                                                -  แผนภูมิแท่งเชิงซ้อน
                                                                                                -  แผนภูมิแท่งส่วนประกอบ
                                                                                                -  แผนภูมิแท่งบวก ลบ
                                                                                                -  แผนภูมิแท่งซ้อนกัน
                                                                                • แผนภูมิรูปวงกลม
                                                                                • แผนภูมิรูปภาพ
                                                                แบบที่ 3 การนำเสนอข้อมูลโดยใช้กราฟเส้นแบบต่างๆ ได้แก่
                                                                                • กราฟเส้นเชิงเดียว
                                                                                • กราฟเส้นเชิงซ้อน                              
                                                                                • กราฟเส้นเชิงประกอบ
                                                                                • กราฟดุล

ค่ากลางของข้อมูล

        ค่ากลางของข้อมูล   เป็นค่าสถิติหรือตัวเลขตัวหนึ่งที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลชุดหนึ่ง  ค่าที่ได้นั้นเราถือว่าเป็นตัวแทนของข้อมูลชุดนั้น  ซึ่งเป็นค่าที่อยู่กลางๆของข้อมูลชุดนั้น  การหาค่ากลางของข้อมูลมีวิธีการหามากมายหลายวิธี  และแต่ละวิธีจะเกิดค่ากลางได้แต่ละค่า  ค่ากลางที่นิยมหาและใช้กันเสมอได้แก่ค่าเฉลี่ยเลขคณิต  มัธยฐาน  และฐานนิยม
          ค่าเฉลี่ยเลขคณิต   ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลที่ไม่แจกแจงความถี่ทำได้โดย   การนำข้อมูลทั้งหมดบวกกัน  แล้วหารด้วยจำนวนข้อมูลทั้งหมด
             
          มัธยฐาน  มัธยฐานเป็นค่าที่มีตำแหน่งกึ่งกลางของข้อมูล เมื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาเรียงจากค่าน้อยไปหาค่ามาก ( หรือจากค่ามากไปหาค่าน้อย ) ใช้สัญลักษณ์ Med  แทน  มัธยฐาน